ควบคุมและสร้างมาตรฐาน GI ผลผลิตชมพู่เพชรสายรุ้ง
วันที่ 4 เมษายน 2565 เมื่อเวลา 09.00 น. นายยุทธนา เมืองเล็ก นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองโสน พร้อมด้วย ว่าที่ ร.ต.อาณัติ หุ่นหลา เกษตรจังหวัดเพชรบุรี / นางสาวสุจิรา กิจเจริญ หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนา การผลิต/นายยุกตนันท์ จำปาเทศ เกษตรอำเภอเมืองเพชรบุรี/นายยศพจ ศรีสุวรรณ นักวิชาการพาณิชย์ชำนาญ การ สำนักงานพาณิชย์จังหวัดเพชรบุรี และ อาจารย์ ดร.ศิริวรรณ แดงฉ่ำ ประธานสาขาวิชาเกษตรศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี /นายชลอ ดำนิล สมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัดเพชรบุรีและตัวแทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในฐานะคณะทำงานควบคุมตรวจสอบกระบวนการผลิตและจำหน่ายสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ "ชมพู่เพชร" นำเกษตรกรผู้ปลูกชมพู่ ร่วมประชุมโครงการจัดทำระบบควบคุมคุณภาพและมาตรฐานสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทยสินค้าชมพู่เพชร ณ ห้องประชุม SU 504 อาคารนิวัติสโมสร มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นรีนาถ ศรีวรนาถ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี เป็นประธานกล่าวเปิดงาน
จากนั้นได้มีการบรรยายขี้แจง ขั้นตอนวิธีการดำเนินงานในการจัดทำระบบควบคุมคุณภาพและมาตรฐานสินค้าสิ่งบ่งขี้ทางภูมิศาสตร์ การตรวจประเมินผู้ผลิต ผู้ประกอบการค้า เพื่อขออนุญาตใช้ตราสัญลักษณ์สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย จาก นางสาวจิตติมา กลิ่นสุวรรณ นักวิชาการพาณิชย์ปฏิบัติการ /นางสาวนพรัตน์ ว่องทรงเจริญ นักวิชาการพาณิชย์ กรมทรัพย์สินทางปัญญา โดยเปิดโอกาสให้เกษตรกร / ผู้ประกอบการ ได้ขึ้นทะเบียนเพื่อมีสิทธิ์ได้ใช่เครื่องหมาย โดยเสนอข้อมูลให้กับคณะกรรมการในระดับจังหวัด ได้พิจารณาพร้อมลงตรวจแปลงเกษตรที่ได้ยื่นขอจดทะเบียน จากคณะทำงานอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งในส่วนของเครื่องหมาย GI ทางกรมทรัพย์สินทางปัญญาได้มีการอนุญาตให้สามารถใช้ตรากับผลผลิตชมพู่เพชร ในภาพรวมของจังหวัดมาตั้งแต่ปี 2551 แต่ยังไม่อนุญาตให้เกษตรกร / ผู้ประกอบการใช้ตรา GI ดังกล่าวได้ ทางผู้ว่าราชการจังหวัด จึงมีนโยบายที่จะให้เกษตรกร / ผู้ประกอบการสามารถ ใช้ตราดังกล่าวได้ เพื่อเพิ่มมูลค่าผลผลิตและสามารถตรวจสอบข้อมูลย้อนหลังไปถึงตัวเกษตรกรผู้ผลิต เป็นการรักษาชื่อเสียงและคุณภาพของชมพู่เพชรสายรุ้ง ให้เป็นสินค้าที่มีชื่อเสียงของจังหวัดเพชรบุรีต่อไป